สมัครสมาชิกใหม่รับคะแนน 5,000 คะแนน ► ดูรายละเอียด
ผ่อน 0% นาน 6 เดือน เมื่อช้อปสินค้าครบ 10,000 บาท
ผ่อน 0% นาน 10 เดือน เมื่อช้อปสินค้าครบ 20,000 บาท
ใครจะคิดว่าวันนึงปัญหาขยะจะเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก วันที่ทุกคนบนโลกเห็นพ้องต้องกันว่า Climate change คือปัญหาระดับชาติ วันที่ร้านสะดวกซื้อรณรงค์ให้ทุกคนไม่รับถุง และอีกหลายอย่างที่คนในสังคมตะหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินคำว่า Recycle กันมานานแล้วว่าเป็นการเอามาทำซ้ำใหม่ แต่อีกอย่างที่นักออกแบบ นักประดิษฐ์ เริ่มสนใจเรื่อง Upcycling คือการนำขยะเอามาทำให้ดีขึ้นมีมูลค่ามากขึ้น ที่เปลี่ยนจากขยะให้กลายเป็นทองคำ มาดูกันต่อว่าเขาเปลี่ยนขยะเป็นอะไรบ้าง
ปัจจุบันที่เทคโนโลยีพัฒนาก้าวไกลขึ้นเรื่อย พร้อมกับจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากความพังและการตกรุ่นทำให้เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 650,000 ตัน จึงเป็นที่มาขอเหรียญรางวัลโอลิมปิก 2020 ที่ทำจากขยะทั้งหมด100% ซึ่งต้องยอมรับเลยว่าชาวญี่ปุ่นร่วมแรงร่วมใจกันเป็นเจ้าภาพการแข่งกีฬาครั้งยิ่งใหญ่นี้โดยร่วมกันบริจาคขยะให้รัฐเอามาทำเหรียญรางวัล นอกจากกรีนแล้วยังแสดงถึงความสามัคคีกันอีกด้วย
ส่วนในประเทศไทยก็มีคาเฟชิคๆ ที่เอาตกแต่งร้านให้ได้บรรยากาศเก่า 80s-90s อย่างร้าน Akirart Cafe ที่เปลี่ยนขยะของออฟฟิศตกยุคให้กลายเป็นความเท่ที่ใครๆ ก็อยากมาถ่ายรูป
ในสมัยเด็กๆ เวลาเข้าค่ายทุกคนน่าจะได้ท่องบท “ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่างเป็นของมีค่าอย่ากินทิ้งขว้าง” แต่ปัจจุบันด้วยกระแสของการบริโภคนิยม การมาของร้านบุฟเฟ่ทั้งหลาย ทำให้ต่อวันเราผลิตขยะอาหาร(Food waste) “ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า การสร้างขยะของคนไทยต่อครัวเรือนในปี 2559 ปัจจุบันโดยเฉลี่ยคิดเป็น 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน จากทั้งหมด 27.06 ล้านตัน และเกินกว่าครึ่งเป็นขยะอาหาร” มาทำความรู้จักกับกลุ่มนักกินฟรีที่เรียกว่า Freegan พวกเขาเลือกจะเก็บอาหารที่ไม่ผ่านมาตรฐานของตลาดมาปรุงเป็นอาหารให้คนกิน การเอาของหมดอายุจากชั้นวางมากิน โดยพวกเค้าเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะ ประหยัด และแบ่งปัน สำหรับในประเทศไทยก็มีเครื่อข่ายคนไร้บ้านที่ไปเก็บผักบริเวณตลาดสี่มุมเมือง มาทำอาหารให้คนไร้บ้านรับประทาน นอกจากลดขยะแล้วยังช่วยให้คนได้อิ่มท้อง
ตอนนี้คงไม่มีใครไม่รู้ว่าขยะพลาสติกมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง ทั้งจากสื่อมากมายที่ทำให้เราเห็นว่าในท้องสัตว์ทะเลเต็มไปด้วยขยะจนแน่นพุง บนโลกมีแพขยะกว่า 5 หมื่นล้านตันลอยอยู่ในมหาสมุทร จากปัญหาขยะพลาสติกมีทำให้มีหลายคนอยากเปลี่ยนขยะให้เป็นสินค้าเช่น
เจ้าอาวาศวัดจากแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ที่เปลี่ยนขวดพลาสติกให้กลายเป็นเส้นใยนาโน เพื่อผลิตผ้าไตรจีวร โดยยึดโยงกับแนวคิดของพุทธศาสนาเรื่องผ้าบังสุกุลที่ upcycling จากผ้าห่อศพ ซึ่งเรื่องพลาสติกนี้เป็นสิ่งที่เราทุกคนเริ่มต้นช่วยโลกได้ด้วยหลายๆ อย่างการพวกขวดน้ำ มีหลอดสแตนเลสของตัวเอง หรือจะจ่ายตลาดด้วยถุงผ้า ถ้าเราอยากทำจริงๆ อะไรก็ไม่ยาก
ซากรถ จำนวนมากกลายเป็นซากกองไว้ในสุสานยานยนต์ แต่ในความซากเศษเหล็กที่ตัวตัวโดนนำไป Recycle หลอมใหม่ แต่ก็มีนักออกแบบหลายคนที่เปลี่ยนซากรถให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบต่างๆ เช่นโซฟาจากกระโปรง เตาบาบีคิวที่อยู่ในกระโปรงหน้า หรือที่ใกล้คนไทยเข้ามาอีกคือยางรถยนต์ ที่กลายเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายมากมายเช่น ห่วงยางตามสถานที่ท่องเที่ยว และถ้าคุณไปเดินร้านชำตามต่างจังหวัดก็จะเห็นรองเท้าที่ทำจากยางรถยนต์จากนักออกแบบท้องถิ่น สำหรับของใหญ่อย่างเครื่องบินที่ประเทศคอสตาริก้าเปลี่ยน Boeing727 ให้กลายเป็นโรงแรมและสร้างมู,ค่าจากเศษเหล็กที่ค่อยๆ สูญสลายกลายเป็นการสิ่งที่น่าสนใจแทน
พูดกันตามตรงเลยว่าวงการแฟชั่นอาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ใช้ทรัพยากรณ์ของโลกอย่างมหาศาล เสื้อผ้าก็ผลิตออกมาได้ที่ละมากๆ ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จนเราสามารถซื้อเสื้อผ้ามือสองได้ในราคาถูกกว่าข้าวมันไก่ และมีเศษขยะหลงเหลือจากการผลิตเป็นจำนวนมาก Samsonite จึงได้ออกแบบกระเป๋าเป้ “Plant Pack” ที่ผลิตจากไนลอนรีไซเคิลได้ชนิดแรกของโลกที่มาจากเศษขยะในกระบวนการผลิตไนลอน มีชื่อว่า MipinⓇregenTM เหมาะสำหรับชีวิตประจำวันของคนเมือง มีแถบสีสะท้อนแสงในที่มืดและมีคุณสมบัติป้องกันแบคทีเรีย ซึ่งเป็นคอเล็คชั่นพิเศษจาก Samsonite Red
ไม่ได้มีแค่ Samsonite ที่สนใจเรื่องนี้ ในประเทศก็มีแบรนด์เสื้อผ้าชื่อ La Rocca ที่เปลี่ยนเสื้อผ้ากระสอบมือสองมาตัดแปะให้เป็นเสื้อตัวใหม่ จนสร้างมูลค่าขึ้นเป็นหลายเท่าตัว จากที่เล่ามาทั้งหมดนี้ก็อยากให้คุณเห็นว่าการEco ไม่ได้ทำเพราะเป็นกระแสหรือเอาเท่ แต่มันคือเรื่องของการที่ทุกคนตะหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมกันอย่างแท้จริง เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไร้มูลค่าให้มีราคาผ่านกระบวนการ Upcycling และเราก็เชื่อว่าทุกคนสามารถทำได้ขอแค่มีจินตนาการและความรู้มารวมกันเราก็รักษ์โลกและหาเงินพร้อมกันได้